วันอังคารที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2559

7หลักเสริมลูกรักไม่หวั่นความผิดหวัง

7หลักเสริมลูกรักไม่หวั่นความผิดหวัง



7หลักเสริมลูกรักไม่หวั่นความผิดหวัง จากบทความน่าสนใจใน นสพ คมชัดลึก วันที่ 14 พฤษภาคม 2556 เราขอนำบทความนี้มานำเสนอให้กับคุณพ่อคุณแม่ เพื่อ
7หลักเสริมลูกรักไม่หวั่นความผิดหวัง
เรียนรู้วิธีสอนลูกๆที่กำลังโตขึ้น ให้รู้จักรับมือกับความพ่ายแพ้ และความผิดหวังในชีวิต ซึ่งจะเป็นเรื่องที่สำคัญที่จะทำให้เขาผ่านวิกฤตต่างๆในชีวิตไปได้

สังคมยุคปัจจุบัน เป็นยุคที่มีการแข่งขันสูงและมีแนวโน้มที่จะแข่งขันกันอย่างเข้มข้นขึ้นเรื่อยๆ จะเห็นได้จากการสอบชิงเข้าเรียนในชั้นอนุบาลของเด็กเล็ก หรือการเปิดรับสมัครเพื่อแข่งขันโชว์ความสามารถพิเศษของเด็กในระดับประถม-มัธยม และจากสภาพแวดล้อมเหล่านี้ ทำให้คุณพ่อคุณแม่ยุคใหม่มีความกังวล เพราะรู้ดีว่า การเลี้ยงดูลูกด้วยความรักเพียงอย่างเดียวไม่เพียงพอที่จะให้ลูกรักเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่แข็งแกร่งทั้งร่างกายและความคิดได้ จึงต้องอาศัย “ประสบการณ์ตรงจากโลกภายนอก” มาช่วยเพิ่มทักษะในการดำเนินชีวิตให้ลูกๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “การรับมือกับความพ่ายแพ้และผิดหวัง” (more…)

พฤติกรรมของเด็กวัย 3-5 ปี

Thursday, November 1st, 2012

พฤติกรรมของเด็กวัย 3-5 ปี โดย พ.ญ. แก้วตา นพมณีจำรัสเลิศ
พฤติกรรมของเด็กวัย 3-5 ปี
สำหรับคุณพ่อคุณแม่ที่มีลูกอยู่ในวัยก่อนเข้าเรียนหรืออายุประมาณ 3-5 ขวบ เราได้นำบทความเกี่ยวกับ พฤติกรรมของเด็กในวัยนี้มาให้คุณพ่อคุณแม่ได้อ่านเป็นข้อมูลเสริมสำหรับการเลี้ยงดูแลลูก และทำให้เข้าใจธรรมชาติของเด็กได้มากขึ้น บทความนี้คัดมาจากบทความของ พ.ญ. แก้วตา นพมณีจำรัสเลิศ
พฤติกรรมของเด็กวัย 3-5 ปีชอบตั้งคำถาม เด็กในวัยนี้มีพัฒนาการทางภาษาค่อนข้างมาก สามารถเล่าเรื่องเป็นประโยคยาวๆได้ ร้องเพลงง่ายๆได้ ทำให้มักชอบตั้งคำถาม ช่างคิด ช่างสงสัยในสิ่งต่างๆ เริ่มช่วยเหลือตนเองได้ เช่น รับประทานอาหาร แต่งตัว ทำกิจวัตรประจำวันต่างๆ ด้วยตนเอง และยังชอบช่วยผู้ใหญ่ทำงานเล็กๆน้อยๆ เราควรส่งเสริมให้เด็กเกิดความภูมิใจด้วยการชื่นชมในสิ่งที่เด็กทำ และให้ได้ลองทำสิ่งใหม่ๆด้วยตนเอง เล่นกับเพื่อน มักจะเล่นอยู่ในกลุ่มเพื่อน 2-3 คน ทำให้ได้เรียนรู้เงื่อนไขทางสังคมใหม่ๆที่นอกเหนือไปจากที่บ้าน เริ่มบอกความแตกต่างระหว่างเพศได้ Piaget นักจิตวิทยากลุ่มที่เน้นความรู้ความเข้าใจ (Cognitive) กล่าวว่า เด็ก 3-5 ขวบ เรียนรู้พฤติกรรมทางสังคมจากเพื่อนในโรงเรียนอนุบาลหรือเพื่อนบ้านวัยเดียวกัน แต่เด็กวัยนี้ยังเข้าใจถึงความถูกต้องและความผิดไม่ลึกซึ้งนัก มีจินตนาการ เด็กวัยนี้ชอบของเล่นที่ใช้ความคิด หากได้เล่นจินตนาการ หรือแสดงบทบาทสมมุติจะเล่นได้เรื่อยๆ เป็นสิ่งที่เราควรส่งเสริมเพราะช่วยให้เด็กได้มีจินตนาการ และเป็นการปลดปล่อย บางครั้งเวลาให้เล่าเรื่องอาจเป็นเรื่องจริงปนเรื่องสมมุติ พ่อแม่และผู้ปกครองควรต้องระวังไม่ให้กลายเป็นติดนิสัยโกหก โดยไม่ควรใช้วิธีดุว่าด้วยถ้อยคำรุนแรง แต่อาจใช้วิธีการทำให้เด็กรู้ว่ากำลังพูดเรื่องโกหก เช่น (more…)

พลังบวกพ่อแม่สร้างลูกฉลาด (บทความจาก โพสต์ทูเดย์)

Sunday, May 27th, 2012

พลังบวกพ่อแม่สร้างลูกฉลาด
พลังบวกพ่อแม่สร้างลูกฉลาด
เราได้อ่านบทความเกี่ยวกับการสร้างลูกให้ฉลาด เลยอยากนำมาเผยแพร่ให้คุณผู้ปกครองที่มีความสนใจ ในการพัฒนาลูกๆหรือเด็กเล็กๆ เป็นบทความจากโพสต์ทูเดย์ ซึ่งเราเข้าไปหาข้อมูลในเวบไซต์ สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว  เราจึงนำบทความนี้มาช่วยเผยแพร่ให้กับผู้สนใจต่างๆที่เข้ามาในเวบของเรา โดยท่านสามารถดาวน์โหลดบทความนี้ได้ตามลิงค์ด้านล่างสุดของบทความนี้คะ
พลังบวกพ่อแม่สร้างลูกฉลาด (บทความจาก โพสต์ทูเดย์ 26 มีนาคม 2555)
ปัจจุบันครอบครัวไทยเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม เป็นครอบครัวเดี่ยวมากขึ้น พ่อแม่ต้องเลี้ยงลูกควบคู่ไปกับการทำงานขณะเดียวกันแม่ได้รับบทบาทสำคัญในการดูแลและปลูกฝังลูก รวมทั้งต้องรับผิดชอบหลายด้าน เวลาที่มีให้กันภายในครอบครัวจึงน้อยลง ทำให้ขาดความเข้าใจ ขาดกำลังใจมองโลกในแง่บวกได้น้อยลง พลังบวกของแม่ลดลง จนกระทั่งเด็กในปัจจุบันกลายเป็นเด็กที่ขาดความสุข กดดันจากการถูกส่งต่อความคาดหวัง มองไม่เห็นศักยภาพของตัวเอง ติดเกม ติดเพื่อนเชื่อมั่นในตัวพ่อแม่น้อยลงเมื่อมีปัญหาจึงไม่ปรึกษาพ่อแม่ครอบครัวเริ่มห่างเหินและขาดความอบอุ่น
ทว่าเมื่อมองออกไปภายนอกครอบครัวโลกนี้ไม่มีอะไรเหมือนเดิมอีกต่อไป การเปลี่ยนแปลงในทางร้ายๆ เริ่มเข้ามาเยือนมนุษย์มากขึ้นทุกที ภัยพิบัติร้ายแรงไม่ว่าจะน้ำท่วม แผ่นดินไหว ไฟป่า เกิดขึ้นจนเป็นเรื่องปกติการดำรงชีวิตให้อยู่รอดจึงไม่ใช่แค่ความเป็นคนเก่ง แต่คือคนที่มีจิตใจเข้มแข็งมีคุณธรรม และสามารถปรับตัวเพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงที่ไม่สามารถคาดเดาล่วงหน้าได้ (more…)

คู่มือความรู้เพื่อพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ในเด็กอายุ 3-11 ปี สำหรับพ่อแม่/ผู้ปกครอง

Sunday, May 22nd, 2011

คู่มือความรู้เพื่อพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ในเด็กอายุ 3-11 ปี สำหรับพ่อแม่/ผู้ปกครอง
ความฉลาดด้านอารมณ์-เด็ก-เด็กอนุบาล-บทความ
เราได้นำบทความที่น่าสนใจสำหรับคุณพ่อคุณแม่ และผู้ปกครอง ในการฝึกและพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ของเด็ก (IQ and EQ) เป็นบทความจาก กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข
ทักษะการอบรมสั่งสอนและการแนะนำ
คนทุกคนไม่ว่าเด็กหรือผู้ใหญ่ หรือฉลากแค่ไหนก็ทำสิ่งผิดพลาดได้ทั้งนั้น ไม่มีใครสมบูรณ์แบบดังนั้น ควรใจเย็นๆ ค่อยๆ สอนลูก บอกเขาให้ชัดเจนว่าสิ่งที่ถูกต้องที่เขาควรทำนั้นคือ อะไร
หลักการสำคัญในการอบรมสั่งสอนและการแนะนำ
๑. หากจะสอนอะไร พยายามสอนตอนลูกอารมณ์ดี และสอนแบบการพูดคุย ถามความรู้สึกและเหตุผลของเขา ลูกจะฟังได้มากกว่า
๒. ให้โอกาสลูกได้เรียนรู้ความผิดพลาด หากเห็นว่าลูกทำอะไรไม่ถูกต้องหรือผิดพรากถ้าสิ่งนั้นไม่ใช่ความผิดพลาดรุนแรงที่จะส่งผลเสียหายอะไร พ่อแม่ไม่ควรเข้าไปขัดขวางการกระทำของลูกทันที เพราะจะเป็นการขัดขวางการเรียนรู้ตามธรรมชาติ ทำให้เด็กไม่ได้เรียนรู้ในการเผชิญปัญหา และแก้ไขปัญหาต่างๆ ด้วยตัวเอง เขาจะรู้สึกว่าต้องคอยพึ่งพาพ่อแม่ ยิ่งกว่านั้นการที่พ่อแม่ไมให้เด็กทำอะไรเอง ก็เท่ากับเป็นการบอกลูกว่าลูกไม่ดีพอ ไม่เก่งพอ และพ่อแม่ไม่เชื่องถือในตัวลูกเด็กจึงรู้สึกว่าตัวเองด้อยค่า (more…)

เสวนาเรื่อง “ เคล็ดลับครอบครัว…..ช่วยเสริมสร้าง ไอคิว อีคิว ลูก”

Sunday, April 24th, 2011

เสวนาเรื่อง “ เคล็ดลับครอบครัว…..ช่วยเสริมสร้าง ไอคิว อีคิว ลูก”
ไอคิว-เด็กเล็ก-kids-children-school-games-2
โดย นายแพทย์ดุสิต ลิขนะพิชิตกุล ผู้อำนวยการโรงพยาบาลยุวประสาทไวทโยปถัมภ์
นายวันชัย บุญประชา ผู้จัดการมูลนิธิเครือข่ายครอบครัว
นางสุชาดา กิจเจริญ บ้านกลมกิ๊ก
ผู้ดำเนินการอภิปราย แพทย์หญิงณัฏฐิณี ชินะจิตพันธุ์ สถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์
จากข้อคำถามว่า ทำอย่างไรจะทำให้ลูกมีไอคิวและอีคิวดี ผู้ร่วมเสวนาได้ให้ข้อเสนอแนะ ดังนี้
พ.ดุสิต การเลี้ยงดูลูกนั้นต้องมองใน 3 ส่วน คือ bio Psycho social เด็กควรได้รับอาหารที่ดี เริ่มจากนมแม่ ไอโอดีน ส่งผลต่อพัฒนาการ ส่วนในเรื่องความอบอุ่นที่ได้จากแม่ขณะที่ให้ลูกดื่มนมนั้นเป็นส่วนที่เสริมความผูกพัน ส่งเสริมการสร้างอีคิวที่ดี การฝึกควบคุมอารมณ์ในเด็กควรเริ่มตั้งแต่เด็ก ๆ ให้เขาเรียนรู้การมีพฤติกรรมที่เหมาะสม การที่เด็กมีวุฒิภาวะที่เหมาะสม แสดงให้เห็นถึงการมีอีคิวที่ดี ส่วนเรื่องพัฒนาการสามารถดูเทียบจากสมุดพัฒนาการเด็กเล่มสีชมพู ที่ได้เมื่อไปรับวัคซีน (more…)

พัฒนาการของเด็ก

Sunday, August 1st, 2010

พัฒนาการเด็ก


เด็กปกติทั่วไปจะมีลำดับขั้นของพัฒนาการที่ใกล้เคียงกันในช่วงอายุต่างๆ
พัฒนาการเด็ก
 ดังนั้นถ้าเด็กมีพัฒนาการล่าช้าเกิน 6 เดือนขึ้นไปเมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ย อาจจะถือว่ามีความผิดปกติบางอย่างที่คุณผู้ปกครองควรจะสอบถาม และขอคำแนะนำ จากแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับพัฒนาการเด็ก เพื่อที่จะค้นหาสาเหตุ และแนวทางรักษาเพื่อที่จะกระตุ้นพัฒนาการของเด็กให้กลับมาเป็นปกติอย่างเร็วที่สุด ตารางด้านล่างแสดงพัฒนาการปกติในแต่ละช่วงวัยเป็นดังนี้

พัฒนาการเด็ก – ด้านกล้ามเนื้อมัดใหญ่ (Gross Motor Development)
ช่วงอายุของเด็กพัฒนาการของเด็กในด้านกล้ามเนื้อมัดใหญ่
แรกเกิด
1 เดือน
2 เดือน
4 เดือน
6 เดือน
9 เดือน
12 เดือน
15 เดือน
18 เดือน
2 ปี
3 ปี
4 ปี
5 ปี
งอแขนขา, เคลื่อนไหวเท่ากัน 2 ด้าน
หันหน้าซ้ายขวา
ชันคอ
ยกแขนดันตัวชูขึ้นในท่าคว่ำ
คว่ำหงายได้เอง
นั่งได้มั่นคง, คลาน, เกาะยืน
เกาะเดิน
เดินเองได้
วิ่ง, ยืนก้มเก็บของ
เตะลูกบอล, กระโดด 2 เท้า
ขึ้นบันไดสลับเท้า, ถีบรถ 3 ล้อ
ลงบันไดสลับเท้า, กระโดดขาเดียว
กระโดดสลับเท้า, เดินต่อเท้า

วันศุกร์ที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2559

สอนเด็กให้ดี

สอนเด็กให้ดี ต้องไม่ตีไม


การดุด่าว่ากล่าวเด็กด้วยข้อหาเล็กๆ น้อยๆ ทุกย่างก้าวที่พลาดพลั้งไปนั้น รังแต่จะเป็นการทำให้เด็กต่อต้านแข็งขืนมากยิ่งขึ้นเสียเปล่า

แน่นอนว่าการฝึกเด็กให้มีวินัยนั้นเป็นสิ่งจำเป็น และจำเป็นอย่างยิ่งยวดที่ต้องกระทำอย่างระมัดระวัง นุ่มนวล และด้วยความรัก มิใช่อยากให้เด็กเป็นคนดี แล้วตะคอกเอาๆ

จะให้เด็กทำตัวดีมีวินัยได้อย่างไร ลองมาดูเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยสำหรับใช้สอนเด็กกัน จากเว็บไซต์ หนังสือพิมพ์ไทม์ออฟอินเดียของอินเดีย (http://timesofindia.indiatimes.com)

-    วิธีหนึ่งที่ง่ายและได้ผลคือลองยกตัวอย่างให้เด็กทำตาม เพราะเด็กมีแนวโน้มจะเลียนแบบผู้ใหญ่ ถ้าต้องการสร้างนิสัยให้เด็กทำอะไร ผู้ใหญ่ก็ต้องทำด้วย ยกตัวอย่างเรื่องทิ้งขยะลงถัง หรือทำเตียงให้ เรียบร้อยเมื่อลุกจากที่นอน เด็กก็จะเรียนรู้ได้โดยอัตโนมัติและทำตาม

-    ถ้าหากเด็กเป็นพวกชอบดื้อในที่สาธารณะ ผู้ใหญ่ต้องอดทนและบอกเหตุผลไปก่อน ถ้าเด็กยังไม่ เอาใจใส่ หรือทำพฤติกรรมไม่ดีอยู่อีก ให้เดินหนีห่างออกมา อย่างไรก็ตาม ต้องจำไว้ว่าจะไม่ขึ้นเสียงหรือตีเด็ก เพราะนั่นจะเท่ากับทำให้เด็กยิ่งลงไปชักดิ้นชักงอ เรียกร้องความสนใจมากขึ้น

-    ควรปฏิบัติกับเด็กเหมือนคนโตๆแล้วอยู่ เสมอ เพราะเด็กเองก็อยากได้รับความสำคัญจากผู้ใหญ่ ควรให้คำชมเด็กเมื่อเขาหรือเธอทำงานเสร็จเรียบร้อยดี รวมไปถึงการตัดสินใจเลือกอะไรต่างๆที่เหมาะสม เช่น กล่าวชมว่าเด็กแต่งตัวสวย หรือเลือกรองเท้าได้เหมาะดี เป็นต้น

-    พยายามอย่าดุด่าว่ากล่าวเด็ก หากระเบิดอารมณ์เสียออกมา นั่นจะเป็นการเผยจุดอ่อนและเด็กจะเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็วว่าจะเลือกใช้มันให้เกิดผลต่อไปอย่างไร นี่ยังรวมไปถึงเรื่องมารยาทที่ต้องสอนเด็กให้พูดแบบมีหางเสียง และรู้จักพูดขอโทษหากไปผลักโดนใคร

-    ถ้าเด็กประพฤติตัวไม่ดีต่อหน้าแขก อย่าตะโกนใส่เด็ก ควรรอจนกว่ากลับถึงบ้านแล้วอธิบายให้ฟังอย่างเข้มงวดว่าพฤติกรรมที่ทำลงไปแล้วนั้นไม่เป็นที่ยอมรับ และต้องเตือนด้วยว่าหากทำซ้ำอีกจะมีมาตรการขั้นเด็ดขาด

อย่าลืมว่าเด็กก็มีหัวใจ ไม่ใช่ว่าอยากให้ได้ดีแล้วทั้งตี ทั้งตะคอกใส่ แล้วอย่างนั้นจะไปได้ถึงไหนกัน.

ที่มา : ไทยรัฐออนไลน์   June 13, 2010, 3:33am

น่ารักดีกับความคิดสร้างสรรค์ของเด็ก

น่ารักดีกับความคิดสร้างสรรค์ของเด็ก


โดนใจแรง วิธีแก้ปัญหาคุณแม่ติดโทรศัพท์ ตามฉบับอริยสัจ 4
Cr:kapook
เป็นภาพโดนใจชาวเน็ตอย่างมากจนถูกรีทวิตออกไปในวงกว้าง สำหรับภาพการบ้านของนักเรียนในเรื่อง อริยสัจ 4 ที่ผู้ใช้ทวิตเตอร์ @AnumatS ซึ่งเป็นนักศึกษาปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา ได้นำมาเผยแพร่ให้ชาวเน็ตได้ชมกัน (9 มิถุนายน 2559) หลังจากได้เห็นคำตอบของเด็กแต่ละคนในการจำแนกปัญหาหนึ่ง ๆ ตามหลักอริยสัจ 4 ซึ่งบอกเลยว่าแต่ละคนนั้นมีคำตอบที่ดีมาก
โดยเฉพาะคำตอบของนักเรียนรายนี้ที่มีปัญหาเรื่องคุณแม่เล่นโทรศัพท์จนพาลูกมาโรงเรียนสาย ซึ่งน้องก็ได้วิเคราะห์ปัญหาได้ตามหลัก อริยสัจ 4 ดังนี้
- ทุกข์ : แม่พามาโรงเรียนสาย
- สมุทัย : แม่เล่นโทรศัพท์
- นิโรธ : บอกแม่ดี ๆ
- มรรค : ทำตารางให้แม่เล่นโทรศัพท์ แม่ไปออกกำลังกาย

วันอังคารที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2559

เลี้ยงลูกอย่างไรให้คิดเป็น???


บทความส่งเสริมกระบวนการคิดสำหรับเด็ก โดยรองศาสตราจารย์ ดร.นภเนตร ธรรมบวร อดีตผู้อำนวยการโรงเรียนสาธิตละอออุทิศ
จากหนังสือ ๗๐ปีโรงเรียนสาธิตละอออุทิศ


           เมื่อไม่นานมานี้ เพื่อนสนิทที่ไม่ได้พบกันมาเป็นเวลานานได้เล่านิทานให้ฟังเรื่องหนึ่ง นัยว่าได้มาจากการเข้ารับการอบรมการส่งเสริมกระบวนการคิดขององค์กรเอกชนแห่งหนึ่ง นิทานมีอยู่ว่ามีเด็กผู้ชายเล็กๆ คนหนึ่งเป็นเด็กที่ชอบดูละครสัตว์เป็นชีวิตจิตใจ วันหนึ่งมีคณะละครสัตว์มาแสดงในเมืองที่เด็กคนนี้อาศัยอยู่ คุณพ่อคุณแม่ก็พาเด็กคนนี้ไปดูละครสัตว์เหมือนเช่นที่เคยปฏิบัติมา ละครสัตว์ครั้งนี้สนุกมาก เพราะมีสัตว์ต่างๆ มาร่วมแสดงมากมาย แต่สิ่งที่เด็กผู้ชายสนใจเป็นพิเศษ คือ ช้าง เพราะช้างเป็นสัตว์ที่มีพลังมหาศาล และสามารถทำสิ่งต่างๆ ได้มากมาย เมื่อการแสดงละครสัตว์เสร็จสิ้นลง เด็กผู้ชายก็รีบวิ่งไปดูข้างหลังโรงละครด้วยอยากรู้ว่าช้างอาศัยอยู่อย่างไร สิ่งที่เด็กผู้ชายเห็นก็คือ ช้างตัวโตถูกล่ามโซ่ และนำไปผูกติดไว้กับหลักดินอันเล็กนิดเดียว เด็กผู้ชายเห็นดังนั้นจึงเกิดความสงสัยว่า “ทำไมช้างซึ่งมีพละกำลังมากมายมหาศาลจึงไม่ดึงหลักดินให้หลุดออก และวิ่งหนีไป จะได้เป็นอิสระ ไม่ต้องถูกมนุษย์ใช้งานหนักๆ อีกต่อไป”
        เด็กผู้ชายได้แต่เก็บงำความสงสัยดังกล่าวไว้ในใจจนเมื่อเวลาผ่านไปหลายสิบปี เด็กผู้ชายไม่ใช่เด็กผู้ชายเล็กๆ อีกต่อไป แต่ได้เติบโตขึ้นเป็นชายหนุ่มเต็มตัวพร้อมกับความสงสัยที่ยังค้างคาในใจเป็นเวลาหลายสิบปีว่า “ทำไมช้างซึ่งมีพละกำลังมากมายมหาศาลจึงไม่ดึงหลักดินให้หลุดออก และวิ่งหนีไป”

                นักปราชญ์อธิบายให้ชายหนุ่มฟังว่า “ช้างถูกเลี้ยงดูให้อยู่ในสภาพเช่นนั้น ตั้งแต่แรกเกิดจนทำให้ช้างมีความเชื่อว่า ถึงตัวมันจะมีพละกำลังมากมายมหาศาลเพียงใด แต่ก็คงไม่สามารถดึงหลักดินให้หลุดออกได้”
นิทานที่เพื่อนเล่าให้ฟังจบลงเพียงแค่นี้ แต่สิ่งที่ได้ฟังนั้นทำให้อดคิดเชื่อมโยงไปถึงวิธีการในการอบรมเลี้ยงดูเด็กโดยบังคับให้เด็กเดินตามเส้นที่ขีดเป๊ะๆ จนบิดเบี้ยวออกนอกเส้น หรือนอกกรอบไปบ้างไม่ได้เลย เด็กก็คงเติบโตมามีสภาพที่ไม่แตกต่างอะไรจากช้างในคณะละครสัตว์เป็นแน่ กล่าวคือ ไม่สามารถคิิดแตกต่างจากกรอบที่กำหนดให้คิดได้ ต้องเดินไปตามเส้นที่กำหนดไว้อย่างเดียว ซึ่งสภาพดังกล่าวดูจะไม่สอดคล้องกับสภาพสังคมในยุคโลกาภิวัตน์ที่เต็มไปด้วยข้อมูล ข่าวสาร และ การเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วที่ส่งผลให้เด็กที่จะเติบโตเป็นผู้ใหญ่ในอนาคตนั้นต้องเป็นคนที่สามารถคิดเป็น และสามารถปรับตัวในสังคมวัตถุที่เต็มไปด้วยการรีบเร่ง แข่งขัน และการเปลี่ยนแปลงอย่างมากมายได้
           ทุกวันนี้ คุณพ่อคุณแม่จำนวนไม่น้อยมักเชื่อมโยงคำว่า “คิดเป็น” กับคำว่า “เรียนเก่ง” เข้าด้วยกันโดยเชื่อว่า ถ้าลูกเรียนหนังสือเก่งแล้ว ลูกจะสามารถคิดเป็นด้วย ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว คำว่า “เรียนเก่ง” กับคำว่า “คิดเป็น” นั้นอาจจะเป็นสองคำที่ไม่ได้ไปด้วยกันในรูปแบบของสมการตามที่คุณพ่อคุณแม่คิดหรือนึกไว้ก็ได้ กล่าวคือ คนที่เรียนเก่งอาจไม่จำเป็นต้องคิดเป็น หรือคนที่คิดเป็นอาจไม่จำเป็นต้องเป็นคนเรียนเก่งก็ได้  ซึ่งตัวอย่างก็มีปรากฏให้พบเห็นอยู่ไม่น้อยในสังคมไทยปัจจุบัน เช่น การที่บุคคลที่มีการศึกษาสูง ซึ่งเรามักยกย่องว่าเป็นคนเรียนดี เรียนเก่งแล้วแก้ปัญหาชีวิตของตนโดยการเบียดเบียน หรือทำร้ายชีวิตทั้งของตนเองและผู้อื่น 

           ดังนั้น คำถามสำคัญสำหรับคุณพ่อคุณแม่คงไม่ใช่คำถามที่ว่า “ทำอย่างไรให้ลูกเรียนเก่ง” แต่น่าจะเป็นคำถามที่ว่า “ทำอย่างไรให้ลูกคิดเป็น และสามารถใช้ชีวิตในการอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมที่มีแต่ความเปลี่ยนแปลงได้อย่างมีความสุข” มากกว่า

            เมื่อพูดถึง “เด็กที่คิดเป็น” ก็ทำให้นึกไปถึงเด็กที่คิดได้อย่างลึกซึ้ง กว้างไกล สามารถเชื่อมโยงประสบการณ์ต่างๆ ที่พบเห็นในชีวิตประจำวันได้รู้และเข้าใจความต้องการของตนเอง เอื้ออาทรต่อความรู้สึกของผู้อื่น ขณะเดียวกันก็สามารถแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในการดำรงชีวิต และการทำงานได้ สามารถปรับตัวเองอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข การที่เด็กจะพัฒนา และเติบโตเป็นบุคคลที่คิดเป็นได้นั้นส่วนหนึ่งย่อมขึ้นอยู่กับการเลี้ยงดูของคุณพ่อคุณแม่โดยมีหลักการสำคัญๆ ดังนี้

- เปิดโอกาสให้ลูกคิด และตัดสินใจด้วยตนเองบ้าง คุณพ่อคุณแม่ไม่ควรคิดหรือทำสิ่งต่างๆ ให้ลูกไปเสียทุกอย่าง แต่ควรส่งเสริมให้ลูกได้คิดเพื่อตัวเองด้วย เมื่อคุณครูมอบหมายงานที่ให้ลูกทำ คุณพ่อคุณแม่ควรให้ลูกได้ใช้ความสามารถ และจินตนาการของตนเองในการทำงานดังกล่าว ไม่ควรช่วยคิดหรือทำแทนลูก

เปิดโอกาสให้ลูกได้เผชิญกับปัญหาหรือความยากลำบากในชีวิตบ้าง คุณพ่อคุณแม่ไม่ควรปิดกั้นปัญหา หรือความยากลำบากที่อาจเกิดขึ้นกับชีวิตลูก กล่าวอีกนัยหนึ่ง คือเปิดโอกาสให้ลูกได้เผชิญกับปัญหา และเรียนรู้วิธีการจัดการกับปัญหาด้วยตัวของลูกเอง โดยที่คุณพ่อคุณแม่คอยเฝ้าดูและให้คำแนะนำ ปรึกษาอยู่ห่างๆ

            คุณพ่อคุณแม่หลายท่านไม่ต้องการให้ลูกประสบกับปัญหาใดๆ เลยในชีวิต โดยคอยปกป้องลูกจากปัญหาต่างๆ ที่อาจกร้ำกรายเข้ามา เช่น เมื่อลูกขั้นเรียนใหม่ คุณพ่อคุณแม่ก็พยายามที่จะเลือกห้องเรียนที่ดีที่สุดให้กับลูก เพื่อให้ลูกได้อยู่ท่ามกลางเพื่อนที่เรียนเก่ง เป็นเด็กดี หรือสนิทกับลูกมาก่อน โดยไม่ยอมให้ลูกได้พบกับเพื่อนใหม่ๆ หรือเผชิญกับความเปลี่ยนแปลงในชีวิตบ้าง คุณพ่อคุณแม่หลายท่านมักอ้างเหตุผลว่ากลัวลูกจะไม่มีเพื่อนบ้าง กลัวลูกจะถูกเพื่อนแกล้งบ้าง ซึ่งในความเป็นจริงของชีวิตนั้น คุณพ่อคุณแม่ต้องไม่ลืมว่า เราไม่อาจติดตามลูกไปในทุกหนทุกแห่ง หรือช่วยแก้ปัญหาต่างๆ ทุกปัญหาที่เข้ามาในชีวิตของลูกได้ ด้วยเหตุนี้ คุณพ่อคุณแม่ก็คงจำเป็นต้องเปิดโอกาสให้ลูกได้เผชิญกับอุปสรรคต่างๆ ด้วยตนเองบ้างเพื่อให้ลูกได้ฝึกความอดทน ได้รู้จักกับความผิดหวังเมื่อสิ่งต่างๆ จากภายนอกและภายในตนเองได้ ขณะเดียวกันก็ต้องพยายามหักห้ามใจ อย่าสงสารโดยการทำสิ่งหรือบันดาลทุกอย่างให้กับลูก เพื่อให้ลูกได้เรียนรู้การต่อสู้ชีวิต เห็นความไม่แน่นอน และความเปลี่ยนแปลงของสิ่งต่างๆ

- ส่งเสริมให้ลูกมีความรับผิดชอบ ในปัจจุบันคุณพ่อคุณแม่จำนวนมากไม่ค่อยเปิดโอกาสให้ลูกที่เรียนรับผิดชอบสิ่งต่างๆ ด้วยตนเอง เช่น ถ้าคุณครูมอบหมายงานให้ลูกทำเป็นการบ้าน คุณพ่อคุณแม่ยุคใหม่ มักจะขอร้องให้คุณครูช่วยบอกคุณพ่อ หรือคุณแม่เป็นรายบุคคลอีกครั้งหนึ่ง หรือเขียนเป็นจดหมายบอกคุณพ่อคุณแม่เป็นการส่วนตัว โดยอ้างเหตุผลว่า ลูกไม่ค่อยรับผิดชอบ ไม่ยขอมจดสิ่งที่คุณครูสั่งหรือไม่ยอมบอก ทำให้ไม่ได้ทำงานที่ได้รับมอบหมาย อันที่จร้งแล้ว คุณพ่อคุณแม่ควรใช้โอกาสดังกล่าวในการฝึกความรับผิดชอบของลูก ถ้าลูกลืมหรือไม่ทำสิ่งที่ได้รับมอบหมาย ลูกจะได้เรียนรู้บทเรียนด้วยตนเองและครั้งต่อไป ลูกจะได้เรียนรู้วิธีการกับปัญหาว่าควรทำอย่างไรเป็นต้นไป

- ฝึกให้ลูกได้ช่วยงานบ้าน หรืองานในกิจวัตรประจำวันบ้าง เช่น ถูบ้าน ล้างจาน รดน้ำต้นไม้ ทั้งนี้เพื่อให้ลูกมีโอกาสทำสิ่งต่างๆ เพื่อผู้อื่นบ้างฝึกการลงมือปฎิบัติจริง เรียนรู้ที่จะช่วยเหลือตนเอง และได้บทเรียนจากการทำงานรวมตลอดถึงเปิดโอกาสให้ลูกได้อยู่กับตนเอง ทั้งนี้เพื่อเรียนรู้และชื่นชมความงามของธรรมชาติรอบตัว


ส่งเสริมความอยากรู้อยากเห็นของลูก โดยเปิดโอกาสให้ลูกซักถามหรือแสดงความคิดเห็นขณะเดียวกันก็อาจชวนให้ลูกสังเกตุความเปลี่ยนแปลงสิ่งต่างๆ รอบตัว 
หลักการต่างๆ ที่กล่าวถึงข้างต้นเป็นเพียงแนวทางที่นำไปสู่การพัฒนาการคิดของลูก อย่างไรก็ตาม

หัวใจสำคัญที่สุดคือสัมพันธภาพที่อบอุ่นในครอบครัว เพราะจะช่วยให้เด็กอยู่ในสังคมแห่งการเปลี่ยนแปลงได้อย่างมีความสุข